ไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสที่อาจพัฒนาสู่โรคมะเร็งตับไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คือ ภาวะการติดเชื้อของตับที่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยภาวะนี้เป็นจุดเริ่มต้นของโรคอันตรายร้ายแรงต่อตับ เช่น มะเร็งตับ, ตับแข็ง และตับวาย เป็นต้น การติดเชื้อไวรัสดังกล่าวจะมาจากสารที่หลั่งออกมาจากร่างกาย และสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้ แต่ในประเทศไทยมักพบว่า มีการติดเชื้อโดยที่มีมารดาเป็นพาหะในการแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบบี
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไวรัสตับอักเสบบี
การติดต่อผ่านทางของเหลวที่ออกมาจากร่างกาย เช่น สารคัดหลั่ง, เลือด, น้ำเชื้อ และน้ำเหลือง เป็นต้น
โรคนี้จะติดต่อจากคนสู่คน ต่อเมื่อของเหลวในร่างกายของผู้ติดเชื้อ ผ่านเข้าสู่ร่างกายของบุคคลอื่น โดยจะติดต่อได้ ผ่านทางบาดแผล, รอยแผล หรือผิวหนังถลอก
การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
การใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น เข็มฉีดยา, แปรงสีฟัน, มีดโกน เป็นต้น
การติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์
การติดต่อจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสสู่ทารกในครรภ์
อาการของไวรัสตับอักเสบบี
ผู้ป่วยโรคนี้มักแสดงอาการออกมา หลังจากติดเชื้อไปแล้วประมาณ 1-3 เดือน โดยจะมีอาการ ดังนี้
มีไข้, คลื่นไส้, อาเจียน
อ่อนแรง และปวดตามข้อ
เบื่ออาหาร
ตา และผิวมีสีเหลือง
ปวดบริเวณช่องท้อง, ปัสสาวะมีสีเข้ม
ชนิดของโรคไวรัสตับอักเสบบี
ชนิดเฉียบพลัน
เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว, เป็นไข้, ตัว และตาเหลือง เป็นต้น อาการพวกนี้จะดีขึ้นได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ และร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ผู้ป่วยส่วนมากจึงไม่กลับไปเป็นโรคนี้อีก
ชนิดเรื้อรัง
มักได้รับเชื้อไวรัสมาตั้งแต่เด็ก และเกิดเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลให้กลายเป็นสะพานไปสู่โรคตับแข็ง และมะเร็งตับต่อไปได้
ความแตกต่างระหว่างไวรัสตับอักเสบเอ, บี, ซี, ดี และอี
ไวรัสตับอักเสบเอ
คือ ไวรัสที่ติดต่อกันผ่านการรับประทานอาหาร เช่น น้ำดื่ม, ผัก, ผลไม้ เป็นต้น โดยไวรัสชนิดนี้ จะสามารถหายเองได้โดยไม่เป็นพาหะ และเรื้อรัง
ไวรัสตับอักเสบซี
สาเหตุของการติดเชื้อ จะคล้ายกับไวรัสตับอักเสบบี แต่มีระยะฟักตัวของเชื้อที่น้อยกว่า ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง และยังทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรังอีกด้วย
ไวรัสตับอักเสบดี
คือ ไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในเชื้อไวรัสตับอักเสบบี พบในกลุ่มผู้เสพยาเสพติด ที่ใช้วิธีการฉีดสารเสพติดเข้าสู่เส้นเลือด และอาการของไวรัสตับอักเสบดี อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดตับอักเสบซ้ำซ้อนขึ้นมาด้วย
ไวรัสตับอักเสบอี
คือ เชื้อไวรัสที่มักแฝงอยู่ในเนื้อสัตว์ เช่น หมู และกวาง เป็นต้น สามารถติดต่อได้ผ่านทางการรับประทานอาหารในลักษณะกึ่งสุกกึ่งดิบ เชื้อไวรัสชนิดนี้ สามารถพบได้มากในประเทศอินเดีย และกัมพูชา
แม้เชื้อไวรัสตับอักเสบ จะมีหลายชนิดทั้งเอ, บี, ซี, ดี และอี แต่สาเหตุที่ต้องให้ความสำคัญกับไวรัสตับอักเสบชนิดบี เพราะเป็นไวรัสที่ทำให้ผู้ได้รับเชื้อ มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง, ตับแข็ง และอาจร้ายแรงจนอาจกลายเป็นโรคมะเร็งตับได้ในที่สุด
ภาวะแทรกซ้อนจากไวรัสตับอักเสบบี
จากที่กล่าวมาข้างต้น โรคภาวะตับอักเสบบีสามารถพัฒนากลายเป็นโรคร้ายได้ ดังนี้
ตับแข็ง มีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 25 % โดยตับจะเกิดพังผืดขึ้น และอาจส่งผลต่อการทำงานของตับ
ตับวายเฉียบพลัน เป็นภาวะที่ตับหยุดทำงาน และสามารถส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่มีการปลูกถ่ายตับ
มะเร็งตับ เมื่อมีการพัฒนาเป็นมะเร็งตับ สามารถสังเกตอาการของผู้ป่วยได้ คือ น้ำหนักลด, ตา หรือผิวเหลือง และเบื่ออาหาร
ภาวะที่เกี่ยวกับเลือด เช่น ภาวะโลหิตจาง และการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น
กลุ่มบุคคลที่ควรฉีดวีคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ
ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นไวรัสตับอักเสบบี
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไต
ทารกที่เกิดจากมารดาที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
บุคลากรทางการแพทย์
ผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่ ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส
เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย, ไม่ป้องกันระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
การรักษาไวรัสตับอักเสบบี
ไวรัสตับอักเสบบีระยะเฉียบพลัน
ผู้ป่วยสามารถหายจากโรคนี้ได้ในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน ดังนั้น ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการดูแลตนเอง เช่น อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก, ทานยาปฏิชีวนะ และยาแก้ปวดในกรณีที่ปวดท้อง
ไวรัสตับอักเสบบีระยะเรื้อรัง
ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดโอกาสแพร่เชื้อใส่ผู้อื่น โดยสามารถรักษาได้ด้วยการรับยาต้านไวรัสตามคำแนะนำจากแพทย์
ไวรัสตับอักเสบบี สามารถหายเองได้หรือไม่
โรคนี้มักพบแบบเฉียบพลัน ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ภายใน 10 สัปดาห์ และถึงแม้จะรักษาจนหายขาดแล้ว อาจยังสามารถพบเชื้อในร่างกายได้อยู่ และยังสามารถนำเชื้อไปติดต่อให้กับผู้อื่นได้อีก หรือที่เรียกว่า พาหะ (Carrier) ผู้ป่วยจึงต้องดูแลร่างกาย และควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอด้วย
การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี โดยเด็กจะต้องรับ 3 เข็ม คือ ตอนแรกเกิด, อายุ 1-2 เดือน และ 6-18 เดือน ตามลำดับ หากเป็นผู้ใหญ่ และไม่เคยรับวัคซีน ควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันด้วย
ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น
ไม่ควรใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น เช่น ต่างหู และแปรงสีฟัน เป็นต้น
ป้องกันทุกครั้งหากต้องสัมผัสสารที่หลั่งออกมาจากร่างกาย และการมีเพศสัมพันธ์
ควรทำความสะอาดสิ่งของรอบตัว ให้สะอาดอยู่เสมอ
งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, อาหารที่มีโซเดียมสูง, อาหารรสจัด และวัตถุดิบจำพวกแป้ง, น้ำตาล หรือไขมัน
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่สามารถแพร่ได้อย่างง่ายดาย การฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่สามารถป้องกันตัวเรา และคนที่เรารักให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ หากท่านพบความผิดปกติในร่างกาย และกังวลว่าจะเสี่ยงเป็นไวรัสตับอักเสบ สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ และดำเนินการรักษาต่อไป