head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจมีอะไรบ้าง  (อ่าน 346 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 402
    • ดูรายละเอียด
ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจมีอะไรบ้าง
« เมื่อ: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2024, 15:46:27 น. »
พูดถึง “โรคหัวใจ” ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากเป็น  ไม่ว่าจะเป็นหัวใจโต หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจล้มเหลว เพราะโรคหัวใจให้คุณภาพชีวิตต่ำลง ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินกิจกรรมบางอย่างได้เหมือนคนทั่วไปและยังเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก


หัวใจจะมีลักษณะเหมือนปั๊มน้ำ จะทำงานได้ต้องมีน้ำมัน สำหรับร่างกายของคนเรา ถ้าเปรียบน้ำมันสำหรับหัวใจก็คือ “ เลือด” หากท่อเชื้อเพลิงที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือตัน หัวใจก็จะทำงานไม่ได้และตายลง ท่อเชื้อเพลิงที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่า หลอดเลือดแดงหัวใจโคโรนารี (Coronary Artery) ซึ่งการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ ก็คือ ป้องกันความเสี่ยงไม่ให้หลอเลือดแดงหัวใจโคโรนารีอุดตัน

ซึ่งปัจจัยเสี่ยงก็อาจเกิดขึ้นได้หลายประการ หากเราสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคหัวใจ หมอของแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มนะครับ


ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้

    อายุ : โดยปกติแล้ว ความเสี่ยงของโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
    พันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ ก็มักจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจตามไปด้วย
    เพศ : ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง

คุณหมอแนะนำว่าสำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ สิ่งที่ควรต้องทำคือ ควรตรวจเช็คร่างกาย หรือตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ จะได้ทราบว่าเรามีความเสี่ยงสูงไหม จะได้รีบดูแลหรือรักษา เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจในอนาคตได้


ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้

1.    โรคความดันโลหิตสูง : หากความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน โดยไม่ควบคุม จะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดมาเลี้ยงร้างกาย กล้ามเนื้อหัวใจจะหนาขึ้น ส่งผลให้หัวใจโตขึ้น หลอดเลือดตีบแข็ง และเกิดการอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย และนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด

2.    การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 2-4 เท่า เนื่องจากสารที่อยู่ภายในบุหรี่จะทำให้เซลล์ที่เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อม ส่งผลกระทบกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด ซึ่งนำไปสู่สภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ หรือหากเราไม่ได้เป็นคนที่สูบบุหรี่ ก็ต้องหลีกเลี่ยงควันจากบุหรี่ เพราะก็ส่งผลกับการทำงานของหัวใจได้

3.    -ระดับไขมันในเลือด ผู้ที่มีระดับไขมันแอลดีแอลโคเลสเตอรอลสูง (LDL-Cholesterol) จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงขึ้น โดยไขมันจะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น และหลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนได้น้อยลง ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตาย

4.    โรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจสูงขึ้น โดยเชื่อว่า เบาหวานจะทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ เสื่อมลง ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวาน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและปัจจัยอื่น ๆ ให้อยู่ในระดับปกติให้มากที่สุด

5.    การขาดการออกกำลังกาย ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายจะมีความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดและหัวใจสูงขึ้น การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ และยังสามารถช่วยควบคุมปัจจัยความเสี่ยงอื่น ๆ เช่นความดันโลหิต ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด เบาหวานและน้ำหนักที่มากเกินหรืออ้วนได้

6.    ความอ้วน ผู้ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 กก./เมตร2 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ โดยสามารถคำนวณดัชนีมวลกายได้จากน้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลัง 2 อย่างไรหากคุณมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย แม้มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กก./เมตร2 ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้น


วิธีลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตเมื่อเป็นโรคหัวใจ

การเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจมีทั้งแบบที่รู้ว่าเป็นโรคหัวใจ และบางคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ เพราะไม่มีอาการ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญต้องคอยสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเองให้ดี และอย่าชะล่าใจ

1.    โอกาสเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ขึ้นกับว่าภาวะโรคหัวใจที่เราเป็นรุนแรงแค่ไหน โดยทั่วไปหากมีอาการผิดปกติ คุณหมอจะให้คำแนะนำอยู่แล้ว เช่นถ้ามีปัญหาเรื่องหัวใจวาย คุณหมอจะแนะนำเรื่องการคุมของเค็ม ห้ามกินเค็ม ทานอาหารจืดๆ และคุมน้ำเข้าน้ำออกให้เหมาะสม

2.    ถ้ามีอาการมาก ๆ มีเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ขาบวมมากขึ้นผิดปกติ ก็ควรต้องไปหาคุณหมอเพื่อปรับยาหรือให้ยาเพิ่มเติม

3.    ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าเรามีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่นผิดปกติ หรือวูบผิดปกติ ก็ต้องรีบไปหาคุณหมอ เพราะนั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเริ่มมีอาการผิดปกติที่อันตราย

4.    หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นเหล้า บุหรี่ ชา หรือกาแฟ

5.    สำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการหลัก ๆ ก็จะเป็นเรื่องของการเจ็บแน่นหน้าอก ถ้าเป็นไม่หายภายใน 5-10 นาที หรือมีอาการหนักมาก มีอาการร่วมคือ เหงื่อออก ใจสั่น หน้ามือ เป็นลม อาการแบบนี้ ต้องรับพามาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดนะครับ เพราะบางกรณีที่มีอาการมาก ๆ หลอดเลือดอาจจะอุดตันเฉียบพลัน กรณีแบบนี้อาจจะต้องฉีดสี และทำบอลลูนแก้ไขทันที

ส่วนคนที่ยังมีอาการไม่มาก หรืออาจจะไม่มีอาการ สิ่งที่ควรต้องระวังมากที่สุดเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยง นั่นคือ ดูแลเบาหวาน ความดัน ไขมันให้ดีที่สุด ควบคุมน้ำหนัก และออกกำลังกายให้เหมาะสม จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดปัญหาโรคหัวใจรุนแรงในอนาคตได้



ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจมีอะไรบ้าง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/252