จัดฟันบางนา: คนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เข้ารับการ ฝังรากฟันเทียม ได้หรือไม่การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม เป็นการรักษาทางทันตกรรมสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันธรรมชาติ ซึ่งได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าแต่ก่อน จึงทำให้การฝังรากฟันเทียมเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เพราะภายหลังจากการฝังรากฟันเทียม ผู้เข้ารับการรักษาจะที่สุขภาพฟันที่เป็นปกติ สามารถใชชีวิตประจำวัน รับประทานอาหารได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งยังช่วยให้ผู้เข้ารับการรักษามีฟันที่เรียงสวยเป็นธรรมชาติ และไม่เกิดภาวะฟันห่าง ฟันล้มอีกด้วย ด้วยนวัตกรรมที่นำเข้ามาใช้ในเรื่องของการรักษาในปัจจุบัน มีการวางแผนการรักษาที่แม่นยำ
และมีอัตราความสำเร็จในการรักษาถึง 98 % เพราะการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการฝังรากฟันเทียม ยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เข้ารับการรักษาอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียม ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของโรคประจำตัวของผู้เข้ารับการรักษา เพราะโรคบางชนิด ทำให้ผู้เข้ารับการรักษาไม่สามารถทำการฝังรากฟันเทียม เพราะการฝังรากฟันเทียมนั้น มีการผ่าตัดเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องแจ้งข้อมูลประจำตัวแก่ทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างละเอียด เช่นเดียวกับการ จัดฟัน และทันตแพทย์จะต้องทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดด้วย ยกตัวอย่างเช่น ผู้เข้ารับการรักษาที่เป็นโรคเบาหวานขั้นรุนแรง ก็ไม่สามารถทำการฝังรากฟันเทียมได้ เพราะอาจจะทำให้บาดแผลที่ได้จากการผ่าตัดเกิดการติดเชื้อได้ง่าย และแผลหายช้า ยกเว้นแต่จะได้รับการอนุญาตจากแพทย์ประจำตัวเสียก่อน
นอกจากผู้เข้ารับการรักษาที่เป็นโรคเบาหวานแล้ว คนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ก็ไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้เช่นกัน เนื่องจากร่างกายของผู้เข้ารับการรักษาอาจจะไม่รับการฝังรากฟันเทียม หรืออาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เมื่อทำการผ่าตัดเพื่อการฝังรากฟันเทียม เพราะแผลที่ได้จากการผ่าตัดอยู่ภายในช่องปาก ซึ่งสามารถทำให้เชื้อโรคเข้าไปในบาดแผลได้ง่าย และทำให้เกิดการอักเสบ เป็นหนอง เนื่องจากร่างกายไม่รับรากฟันเทียมนั่นเอง หากผู้เข้ารับการรักษา อยู่ในภาวะภูมิคุ้มกันลดลงมากผิดปกติ จะทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อร้ายแรงมากขึ้น หรือการติดเชื้อเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลร้ายแรงต่อผู้ป่วยได้
เพราะฉะนั้น การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมในกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะส่งผลเสียมากกว่า อาจจะทำให้ผลการรักษาเกิดความล้มเหลวได้ง่ายกว่าผู้เข้ารับการรักษาที่เป็นโรคอื่น ดังนั้นการฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะไม่แนะนำให้ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เข้ารับการทำรากฟันเทียม สำหรับอัตราความล้มเหลวในการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมในระยะแรก จะพิจารณาจากรากฟันเทียมที่ไม่สามารถยึดติดกับกระดูกขากรรไกรที่ใช้รองรับรากฟันเทียมได้ภายใน 2 เดือน รวมไปถึงอาการผิดปกติหลังจากทำการฝังรากฟันเทียม เช่นมีอาการเจ็บปวด หรืออาการชา มีเงาดำที่ปลายรากฟันเมื่อทันตแพทย์ทำการฉายรังสี หือถ้าหากรากฟันเทียมเกิดการขยับ ก้ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม จะต้องมีสุขภาพช่องปากที่ดีและแข็งแรงมากพอที่จะเข้ารับการฝังรากฟันเทียม รวมไปถึงสุขภาพกายก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องให้ข้อมูลกับทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในการรักษา และความปลอดภัยของผู้เข้ารับการรักษาเองด้วย หากไม่แจ้งข้อมูลไม่ละเอียด และทำการฝังรากฟันเทียมไปแล้ว อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือส่งผลเสียมากกว่าผลดี ซึ่งอาจจะทำให้เสียเวลาและเสียเงินฟรีๆ
หากการรักษาเกิดความล้มเหลว อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนใจเข้ารับการรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียม สามารถขอคำแนะนำจากคลินิกได้ เพราะทางเรามีทีมทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการทำรากฟันเทียม ผ่านการอบรมมาอย่างเฉพาะด้าน นอกจากนี้ ยังมีการทันตกรรมอย่างครบวงจรคอยให้บริการอีกด้วย จึงมั่นใจได้ว่าคุณจะมีสุขภาพฟันที่ดีอย่างแน่นอน